วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั่งที่1

บันทึกครั่งที่1
วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 2556
     วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(Science Experiences Management for Early Childhood) อาจารย์ก้ได้แนะนำเกี่ยวกับการสอนรายวิชานี้ ในวิชานี้จะประกอบไปด้วย3คำ คือ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาตร์ เด็กปฐมวัย จากนั้นอาจารย์ก็ถามว่าถ้าพูดคำว่าวิทยาศาสตร์นักษานึกถึงอะไร ในการสอนวิทยาศาสตรืสำหรับเด้กปฐมวัยนั้นอันดับแรกที่สำคัญที่สุดต้องนึกถึง พัฒนาการเด็กเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างละหว่างบุคคล พัฒนาการเป็นตัวกำหนดว่าเด้กทำอะไรได้บ้าง และในการประเมินเด็ก ใช่เกรณ์การประเมินผ่าน ไม่ผ่าน โดยการสังเกตุประเมินผลงาน จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ1แผ่นแล้วให้นักศึกษาเขียนลงในกระดาษ ความรุ้ที่คาดว่าจะได้รับในการเรียนวิชานี้ โดยให้เวลา10นาที

ความรู้เพิ่มเติ่ม

ความหมายของพัฒนาการ

นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของคำว่าพัฒนาการ (development) ดังนี้
  • สุชา จันทร์เอม (2540 : 1) กล่าวว่าพัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง (process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งเพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามลำดับ
  • ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต (2541 : 1) ได้ให้คำจำกัดความของพัฒนาการว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีระเบียบ แบบแผน มีขั้นตอน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเจริญเติบโตงอกงามและถดถอย และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลรวมของวุฒิภาวะและประสบการณ์
  • ศรีเรือน แก้วกังวาล (2540 : 21) กล่าวว่าพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่สังเกตได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า พัฒนาการเป็นกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ในทุก ๆ ด้านของชีวิตตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในลักษณะของการเจริญงอกงาม และการถดถอย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งนำไปสู่ความมีวุฒิภาวะ
จุดมุ่งหมายของการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์
  1. เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการที่จะเข้าใจลักษณะของพัฒนาการในระยะเวลา ต่างๆว่าเป็นอย่างไร และจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ตามความเหมาะสมของแต่ละอายุ ทั้งนี้เพราะว่า ในการที่เราจะเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างช่วยกัน เช่น ประสบการณ์ในชีวิต การได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับบุคคลต่างๆ
  2. เพื่อให้สามารปรับตัวให้เข้ากับความยากลำบากของการพัฒนาการในแต่ละช่วง อายุว่ามีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี เช่น ในวัยชรา คนชราจะได้รับอิทธิพลและปัญหาต่างๆ หล่อหลอมบุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิด มาตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับนั้นจะแตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญยิ่ง คือ ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับตจะเป็นตัวหล่อหลอมให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพและ ความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเองและจะไม่เหมือนบุคคลอื่น ซึ่งจัดว่าการที่บุคคลมีการยอมรับและเข้าใจตนเอง(Self actualization) นั้นย่อมมีความแตกต่างกัน
ด้วยเหตุนี้จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ จึงมีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆนั่นคือ
  1. เพื่อการบรรยาย (Description) ในการบรรยายนี้จะเป็นการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถที่จะบอกเล่ากัน ต่อๆไปได้ อันเป็นความรู้ และเพื่อจะได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งลักษณะดังกล่าว จะเป็นการบอกเล่าว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน
  2. เพื่อการอธิบาย (Explanation)เพื่อเป็นการเสาะแสวงหาความรู้และเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสิ่งที่เราไม่รู้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามอธิบาย หรือให้ความกระจ่างว่า ปรากฏการณ์นั้นเกิดได้อย่างไร มีอะไรเป็นสาเหตุ ผลที่ตามมาควรจะประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
  3. เพื่อการทำนาย (Prediction)เป็นการพยากรณ์ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการอธิบาย ทั้งนี้เพราะ การทำนายนั้นจะเป็นการทำนายเพื่อต้องการอธิบายในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อันเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าว่า เมื่อไหร่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วผลจะเป็นอย่างไร เวลาไหน ซึ่งการที่เราสามารถทำนายได้นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอันมาก
  4. เพื่อการควบคุม (Control) เป็นการที่ผู้รู้จะสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการปรับปรุงธรรมชาติ สภาพทางสังคม และบุคคลให้อยู่ในตามแนวทางที่ตนปรารถนา การควบคุมดังกล่าวจึงนับว่ามีความสำคัญไม่น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น