วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

บันทึกครั้งที่4
วันจันทร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2556
 -อาจารย์พูดคุยเรื่องบล็อก และตรวจบล็อกของนักศึกษาว่าคนไหนควรปรับปรุ่งตรงไหนบ้างอย่างไร
 -กิจกรรมวันนี้
         อาจารย์แจกกระดาษA4ให้นักศึกษาคนละ2แผ่น จากให้นักศึกษาตัดกระดาษออกเป็น8ส่วนเท่าๆกัน แล้วเย็บติดให้เป้นสมุดเล่มเล็ก จากนั้นให้วาดภาพลงในกระดาษโดยการต่อภาพทีละแผ่น ให้นักศึกษาสังเกตุว่าเมื่อเปิดสมุดเล่มนั้นจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้นักศึกาษาไปหาคำตอบมาตอบในสัปดาห์หน้า
         อาจารย์สาธิตการทดลองวิทยาศาตร์ โดยอาจารย์ใช่ขวดน้ำ 2ขวด ขวดนึงมีน้ำ และอีกขวดไม่มีน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็เจาะรูขวดที่ไม่มีน้ำ แล้วอาจารย์ก็เทน้ำจากขวดนึงลงสู่อีขวดนึง ปรากฎว่าน้ำไหนออกมาตามรูที่เจาะ จากนั้นอาจารย์ก็เทน้ำลงขวดเดิมแล้วปิดฝาปรากฎว่าน้ำไม่ไหล สรุปได้ว่าการสาธิตของอาจารย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับแรงดันอากาศ
 -ดูวีดีโอเรื่องอากาศ ในวิโดโอ ก็จะเล่าถึงเรื่องเกี่ยวกับอากาศวิธีการทดลองต่าง
 -ให้นักศึกษาออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนว่าจะประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างไร

ความรู้เพิ่มเติม
หอบไปได้อย่างไร
หลายคนเคยถามด้วยความสงสัยว่าเหตุใดเวลาอ่านข่าวหรือ ดูข่าวเกี่ยวกับพายุทอร์นาโดมักจะปรากฎว่า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ถูกหอบไปด้วย การทดลองนี้จะช่วยให้หลายๆคนเข้าใจได้

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกปิงปอง 2 ลูก
2.เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
3.ไม้บรรทัดหนา
4.หนังสือหลายๆ เล่ม
5.เทปใส

วิธีการทดลอง
1.ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่ง เข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร
2.วาง ไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้น อยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับ ไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
3. เป่าลมผ่านช่องระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูกก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วย แรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล



ผลการทดลอง
เมื่อเป่าลมผ่านระหว่างลูกปิงปอง ลูกปิงปองทั้งสองจะเบนเข้าหากัน และยิ่งเป่าแรงมาก ลูกปิงปองก็จะเบนเข้าหากันมากขึ้นและอาจชนกัน การที่ลูกปิงปองเบนเข้าหากันนั้น เนื่องจากเมื่อเป่าลมจะทำให้อากาศ ระหว่างลูกปิงปองเคลื่อนที่ ทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศต่ำลง อากาศบริเวณที่อยู่ด้านนอกลูกปิงปองทั้งสอง ซึ่งมีความดันอากาศปกติ แต่สูงกว่าอากาศระหว่างลูกปิงปองจะดันลูกปิงปองไปในทิศทางที่อากาศ มีความดันต่ำกว่า
การที่อากาศเคลื่อนที่เร็วทำให้บริเวณนั้นมีความดัน อากาศลดลง ยิ่ง เคลื่อนที่เร็วมากแค่ไหน ความดันอากาศก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น และนี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทอร์นาโด ซึ่งมีความเร็วลมมากอาจถึง 480 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้ และหอบเอา บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ไปด้วย


การทดลอง: แก้วน้ำมหัศจรรย์


การทดลองเรื่อง แก้วน้ำมหัศจรรย์ เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา และเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเราใช้หายใจ สิ่งนั้นก็คือ อากาศนั่นเอง อากาศนั้นสำคัญไฉน  หากไม่มีอากาศ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็คงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และเชื่อไหมว่า อากาศที่อยู่รอบตัวเรานั้นมีแรงดันมหาศาลเพียงใด หากไม่เชื่อลองทำการทดลองนี้ดูได้เลย

อุปกรณ์
1. แก้วน้ำ 1 ใบ
2. น้ำเปล่า หรือน้ำผสมสี (ใช้สีน้ำหรือสีผสมอาหาร)
3. กระดาษแข็ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีขนาดใหญ่กว่าปากแก้วเล็กน้อย

วิธีการทดลอง
1. ใส่น้ำให้เต็มแก้วจนเกือบล้น 
2. ปิดปากแก้วให้สนิทด้วยกระดาษแข็ง  (ดังภาพที่ 1 ) พยายามย่าให้มีฟองอากาศระหว่างน้ำและแผ่นกระดาษ
3. ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งจับกระดาษแข็งปิดปากแก้วให้แน่น แล้วค่อย ๆ  คว่ำแก้วลง (ดังภาพที่ 2 )  เหนืออ่างล้างชามหรือกะละมัง หรืออาจทำการทดลองในที่โล่งแจ้ง 
4. ปล่อยมือจากกระดาษแข็ง (ดังภาพที่3) สังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น  น้ำหกออกมาจากแก้วหรือไม่


 
 180949_3_1.jpg  180949_3_2.jpg
 180949_3_3.jpg
         
           จากการทดลองจะพบว่า เมื่อคว่ำแก้วลง   น้ำไม่ไหลทะลักออกมาจากแก้ว  แต่เมื่อไหร่ที่เอียงแก้วให้อากาศเข้าไปในแก้วได้  น้ำจะไหลออกมาจากแก้วทันที
          หลาย ๆ คนคงสงลัยแล้วว่าทำไมกระดาษแผ่นเล็ก ๆ แผ่นเดียวจึงสามารถรับน้ำหนักของน้ำได้  จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่แผ่นกระดาษที่รับน้ำหนักของน้ำ แต่เป็นอากาศภายนอกต่างหาก เนื่องจากอากาศมีแรงดันทุกทิศทาง   อากาศจะดันรอบ ๆ แก้ว  รวมถึงดันด้านใต้แผ่นกระดาษแข็งด้วย     แรงดันของอากาศที่มีต่อกระดาษแข็งนั้นมีมากกว่าแรงดันที่เกิดจากน้ำหนักของ น้ำในแก้ว   กระดาษแข็งจึงปิดปากแก้วอยู่ได้โดยไม่หล่นจนกว่ามันจะเปียกน้ำ    แต่เมื่อเอียงแก้วน้ำ อากาศจะเข้าไปในแก้ว แรงดันของอากาศภายในแก้วรวมกับแรงดันจากน้ำหนักของน้ำจะช่วยกันทำให้ดันให้ แผ่นกระดาษหลุด น้ำในแก้วก็จะหก โดยปกติแล้ว  ตัวเราเองก็ถูกอากาศกดทับอยู่ตลอดเวลาด้วยน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร   นั่นแสดงว่าใครที่ตัวใหญ่มากก็จะถูกอากาศกดทับมากด้วย  แต่เราคุ้นเคยกับสภาพแรงดันอากาศนี้ จึงไม่รู้สึกตัวว่า กำลังถูกอากาศกดทับอยู่  แต่เมื่อไหร่ที่ขึ้นไปอยู่บนภูเขาสูง ๆ  หรืออยู่บนเครื่องบิน ที่อากาศมีแรงดันที่แตกต่างไปจากเดิม   เราจะก็รู้สึกได้  เช่นอาจเกิดอาการหูอื้อ หรือ หายใจไม่สะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น